5 วิธีแก้ปัญหา พนักงานลาออกบ่อย ทำอย่างไรให้ถูกใจทั้งเจ้านายและลูกน้อง

Sep 26, 2022
จะจ้างพนักงานเยอะก็กลัวแบกต้นทุนไม่ไหว  ด้วยยุคเศรษฐกิจที่ไม่มีอะไรแน่นอน  จะจ้างพนักงานน้อยก็กลัวทำไม่ทัน เผลอ ๆ ลาออก!  เพราะทำงานหนักเกินไป มาดูวิธีแก้ปัญหาพนักงานลาออกบ่อย  จะบาลานซ์อย่างไรให้ถูกใจทั้งเจ้านายและลูกน้อง
วิเคราะห์ว่าร้านเราควรใช้พนักงานกี่คนกันแน่?

1.วิเคราะห์ว่าร้านเราควรใช้พนักงานกี่คนกันแน่?
เริ่มต้นจากดูก่อนว่าร้านเรามีเงินพอจ้างพนักงานได้เท่าไหร่ ลองคิดจากสูตรง่าย ๆ เอาประมาณการรายได้ต่อเดือนของร้าน – 20% = ตัวเลขเงินเดือนรวมของพนักงานต่อเดือน แล้วลองคิดคร่าว ๆ ออกมาเป็นจำนวนคนโดยให้พนักงานแต่ละคนเงินเดือนเท่ากันก่อนก็ได้

จากนั้นมาดูว่าแผนกใดต้องใช้คนบ้างและต้องใช้จำนวนเท่าไหร่ ลองลิสต์ออกมาก่อน เช่น
ต้องมีผู้จัดการร้าน 1 คน
แผนกครัวต้องการพนักงาน 3 คน
แผนกเสิร์ฟต้องการพนักงาน 3 คน
แผนกต้อนรับต้องการพนักงาน 1 คน เป็นต้น

แล้วลองจัดจำนวนคนกระจายลงแต่ละแผนกตามอัตราส่วน แต่ทั้งหมดรวมแล้วต้องไม่เกินจำนวนคนที่จ้างได้ อาจจะไม่ได้ตามจำนวนที่แต่ละแผนกต้องการ แต่ก็สะท้อนจำนวนคนต่องบประมาณได้ดี แล้วค่อยมาวางแผนเพิ่มพนักงานอีกทีเมื่อมีงานและรายได้เพิ่มขึ้น
Note : ยังมีเทคนิคการคิดจำนวนพนักงานที่เหมาะสมอีกหลายวิธี ลองศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ => https://bit.ly/3GSJSdH
อยู่รวมกันเป็นหมู่มาก กฎระเบียบของร้านต้องชัดเจน

2. อยู่รวมกันเป็นหมู่มาก กฎระเบียบของร้านต้องชัดเจน
เพราะอยู่รวมกันเป็นหมู่มากกฎระเบียบจึงเป็นสิ่งสำคัญ กฎระเบียบที่สำคัญของร้านที่ต้องกำหนดไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ เวลาเข้า กรอบการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ เช่นเดียวกับสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานต้องกำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น สิทธิวันหยุด-วันลา ลาคลอด และสวัสดิการอื่นตามกฎหมาย รวมถึงวิธีการได้รับสวัสดิการด้วย

ถ้ามีสวัสดิการความช่วยเหลือที่ร้านให้เป็นพิเศษ เช่น เงินช่วยเหลืองานศพ เงินช่วยค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ก็ควรระบุไว้ด้วยเช่นกัน ระบุเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อย่าลืม! ศึกษาเรื่องกฎหมายแรงงานเรื่องสิทธิของลูกจ้างสักหน่อย ก็จะช่วยในการกำหนดกฎเกณฑ์ข้อนี้ได้ง่ายขึ้น
กำหนด Job Description ให้ชัดเจน ประเมินพนักงานง่ายขึ้น

3. กำหนด Job Description ให้ชัดเจน ประเมินพนักงานง่ายขึ้น
หมดปัญหาใครทำงานมาก ทำงานน้อย ด้วยการกำหนด Job Description ให้ชัดเจน กำหนดหน้าที่หลัก หน้าที่รองให้กับพนักงานแต่ละตำแหน่ง พร้อมลงรายละเอียดไปเลยว่าแต่ละคนต้องทำอะไรบ้าง Job Description ควรทำเป็นคู่มือปฏิบัติการสำหรับพนักงานไว้อ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตาม

ซึ่งคู่มือนี้จะช่วยให้พนักงานทำงานตรงหน้าที่และสร้างการทำงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน อย่าลืมกำหนดเป้าหมายการทำงานและกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแต่ละแผนก เพราะจะช่วยให้เห็นผลของงานได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น แผนกครัวตั้งเป้าจะเป็น Zero Food Waste
ฝ่ายเสิร์ฟลดการเสิร์ฟผิดจากเดิมกี่เคส พนักงานเสิร์ฟเชียร์ขายได้เท่าไหร่ต่อวัน ฯลฯ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้เจ้าของร้านคิดเรื่องการประเมินผลงาน การขึ้นเงินเดือน หรือให้โบนัสง่ายขึ้นด้วย
เพิ่มพลังบวกด้วยกำลังใจและคำชมเชย

4. เพิ่มพลังบวกด้วยกำลังใจและคำชมเชย
เรื่องขวัญและกำลังใจก็เป็นเรื่องสำคัญ พนักงานทำงานดีควรให้กำลังใจด้วยการชมเชย เทคนิคการชมพนักงานคือ ให้ชมต่อหน้าพนักงานคนอื่นพร้อมให้กำลังคนอื่นไปพร้อมกัน หรือจะใช้วิธีชมเชยให้รางวัลแบบเป็นทีม เพื่อแสดงให้เห็นว่าความสำเร็จที่ได้นั้นมาจากการทำงานเป็นทีมไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง

เวลาชมพนักงานอย่าใช้วิธีเปรียบเทียบ! คนนั้นทำงานดีกว่าคนนี้! ทำไมไม่เอาอย่างคนนั้น! ห้ามเปรียบเทียบเด็ดขาด! เพราะจะเกิดการอิจฉากันได้ ในทางกลับกันเมื่อต้องตำหนิพนักงาน ให้เรียกไปตำหนิเพียงลำพัง เน้นพูดคุยทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่กระทำผิดเป็นหลักมากกว่าการมุ่งจะลงโทษพนักงาน
กำหนดกฎเกณฑ์ วิธีก้าวหน้า ในสายงานพนักงานแต่ละแผนก

5. กำหนดกฎเกณฑ์ วิธีก้าวหน้า ในสายงานพนักงานแต่ละแผนก
ไม่มีใครอยากทำงานกับสถานประกอบการที่ไม่ให้ความก้าวหน้าในชีวิต ความก้าวหน้าในการทำงานไม่ว่าจะเป็นขั้นเงินเดือนหรือตำแหน่งที่เติบโตขึ้นเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารร้านควรจะฉายภาพให้กับพนักงานได้เห็นอย่างชัดเจนว่า แต่ละตำแหน่งงานจะสามารถพัฒนาไปเป็นตำแหน่งอะไรที่เติบโตขึ้นได้บ้าง จะมีผลตอบแทนดีขึ้นอย่างไร และมีกฎเกณฑ์อย่างไร

เช่น
- พนักงานเสิร์ฟถ้าทำงานดีและอยู่กับร้านเกิน 3 ปี สามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการร้านได้
- ผู้จัดการร้านถ้าทำงานดีต่อเนื่อง 3-5 ปี อาจได้เป็นหุ้นส่วนหรือให้ไปช่วยบริหารอีกสาขาหนึ่งในอนาคต
Explore more topics

Keep reading

Get inspired by content for restaurants.

View All Articles
What categories interest you?