6 โมเดลเปิดร้านอาหาร ปรับตามสถานการณ์ ลงทุนน้อย

Apr 22, 2022

สถานการณ์โควิดและปัญหาเศรษฐกิจยังไม่แน่นอนแบบนี้ จะลงทุนทำธุรกิจร้านอาหารใหญ่โต ก็ดูจะเสี่ยงเกินไป ลองมาดู #6โมเดลธุรกิจร้านอาหาร ที่ยังมีโอกาสเติบโตในยุคนี้ ที่สำคัญลงทุนไม่มาก และสามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้อย่างคล่องตัว

  • Ghost Kitchen เป็นร้านอาหารแบบไม่ขายหน้าร้าน มีแต่ครัวสำหรับทำอาหาร และขายผ่านเดลิเวอรีเท่านั้น Ghost Kitchen อาจจะใช้ครัวในบ้าน ในคอนโด หรือแม้แต่พอพักในการทำอาหารขายก็ได้ ข้อได้เปรียบคือ ปรับวิธีการดำเนินงานได้ง่าย เพราะไม่ต้องดูแลหน้าร้าน ไม่ต้องเช่าตึกทำร้านอาหาร ไม่ต้องใช้พนักงานจำนวนมาก ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้ Ghost Kitchen ใช้เงินในการลงทุนต่ำ และเริ่มต้นธุรกิจได้ง่าย

  • Cloud Kitchen เป็นร้านแบบไม่มีหน้าร้านและไม่มีครัวของตัวเอง แต่ใช้วิธีเช่าครัวกลางจากผู้ให้บริการ Cloud Kitchen แล้วทำอาหารขายผ่านเดลิเวอรีเช่นกัน โมเดลนี้นอกจากจะไม่ต้องเช่าตึกแล้ว Cloud Kitchen หลายแห่งจะจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจร้านอาหารไว้ให้แล้ว เช่น ครัว อุปกรณ์ทำครัว บริการเดลิเวอรีในพื้นที่ และแหล่งวัตถุดิบที่เข้าถึงง่าย เหมาะสำหรับร้านที่อยากสร้างธุรกิจเดลิเวอรีในย่านดัง แต่ไม่มีเงินเช่าตึกทำร้านได้เพราะราคาแพงเกินไป (ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก)

  • Kiosk เป็นรูปแบบร้านขายอาหารขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นซุ้มหรือบูธชั่วคราวที่สามารถยกไปตั้งในพื้นที่ขายได้อย่างสะดวก เรามักจะเห็น Kiosk (คีออส) ตามพื้นที่ขายในห้างสรรพสินค้าหรือแหล่งชุมชนต่างๆ เช่น ร้านชานม ร้านซูชิ ร้านขนม ฯลฯ ร้านแบบ Kiosk ยังคงได้เปรียบตรงที่ไม่ต้องลงทุนเช่าตึกทำร้าน สามารถออกแบบ สร้าง และติดตั้งได้ไว ทำให้พร้อมขายได้เร็ว ใช้ทุนไม่มากในการออกแบบสร้าง ย้ายที่ตั้งง่ายเมื่อจำเป็นต้องย้าย

  • Food truck ลงทุนเพิ่มมาอีกหน่อยลองเช่าซื้อรถพร้อมตกแต่งให้สามารถทำอาหารขายได้ แล้วขับไปจอดขายในทำเลที่มีคนพลุกพล่านและมีโอกาสในการขาย เมื่อพูดถึงเรื่องเช่าซื้อรถ ดูแล้วเหมือนลงทุนสูง (ราคาฟู้ดทรัคประมาณ 5 แสน – 1 ล้านบาท เช่าซื้อ 5 ปี ค่าผ่อนตกประมาณเดือนละหมื่นกว่าบาทขึ้นไป) แต่ก็ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการซื้อตึกทำร้านอาหาร หรือแม้แต่การเช่าตึกเป็นรายเดือน แถมยังได้เป็นเจ้าของรถได้อีกเมื่อผ่อนครบ  หรือสามารถขายฟู้ดทรัคต่อให้คนอื่นได้หากมีเหตุจำเป็นต้องเลิกกิจการ ฟู้ดทรัคช่วยแก้ข้อเสียเรื่องทำเลของร้านอาหารได้ด้วย เพราะสามารถย้ายโลเคชั่นในการขายได้ (ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก)

  • Meal Kits จะเรียกว่าอาหารพร้อมปรุงก็ว่าได้ Meal Kits คือการจัดวัตถุดิบส่งให้กับลูกค้าพร้อมสูตรอาหารเพื่อให้ลูกค้าไปทำอาหารเองที่บ้าน กลุ่มลูกค้าหลักคือคนเมืองที่ใส่ใจกับการกินมากขึ้น และสนใจทำอาหารเองแบบง่ายๆ ไม่เยอะมาก ไม่ต้องซื้อวัตถุดิบเยอะ เพื่อจะทำอาหารแค่เสิร์ฟเดียว ข้อดีของ Meal Kits คือลูกค้าได้สนุกกับการทำอาหารเองตามสูตร ไม่ต้องออกไปซื้อวัตถุดิบเอง 

ในช่วงโควิดยังระบาด สำหรับผู้ที่สนใจทำธุรกิจ Meal Kits ถ้ามีสูตรอาหารเด็ดอยู่แล้ว ลองจัดชุดวัตถุดิบขายพร้อมแนบสูตรวิธีทำไปพร้อมกันด้วย หรือจะทำเป็นส่วนผสมสำเร็จ เช่น ซอสผัด น้ำยำ ฯลฯ เพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้สะดวกขึ้นก็ได้ Meal Kits มีข้อได้เปรียบคือไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน และตอบสนองไลฟ์สไตล์คนเมืองในยุค New Normal ได้ดี (ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก

  • Meal Box อาหารกล่อง ลองทำข้าวกล่องขายแบบเดลิเวอรีไปเลย ใช้วิธีการผูกปิ่นโตกับลูกค้าประจำก็น่าสนใจ Meal Box ยังสามารถปรับเป็นบริการจัดเลี้ยง สำหรับงานประชุม สัมมนา หรือกิจกรรมต่างๆของหน่วยงาน ห้างร้าน ข้อได้เปรียบของ Meal Box คือลงทุนไม่มาก และไม่ต้องมีหน้าร้านก็ได้ ใช้วิธีการโพสต์ขายออนไลน์ และจัดส่งแบบเดลิเวอรีให้กับลูกค้า สามารถควบคุมต้นทุนและวัตถุดิบได้ง่าย เพราะลูกค้ามักจะสั่งล่วงหน้า หรือถ้าจะจัดเป็นเมนูประจำในแต่ละวันก็จะช่วยบริหารวัตถุดิบและต้นทุนได้ดี 


แต่ไม่ว่าจะโมเดลไหน ขึ้นชื่อว่าธุรกิจสิ่งแรกที่ต้องทำคือหาความเป็นไปได้ของธุรกิจนั้นๆก่อน จะได้ทำธุรกิจร้านอาหารได้อย่างไม่พลาด มาเรียนรู้ไปกับคอร์สการศึกษาความเป็นไปได้ธุรกิจร้านอาหาร โดย อาจารย์เซ็ธ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ ที่ปรึกษาธุรกิจร้านอาหารและแฟรนไชส์ คอร์สที่จะสอนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ หาจุดคุ้มทุน วิเคราะห์การตลาด และการเขียนแผนธุรกิจฟรี 
Explore more topics
startupDeliveryรู้ไว้ไม่เจ๊งการตลาดโมเดลธุรกิจเดลิเวอรี

Keep reading

Get inspired by content for restaurants.

View All Articles
What categories interest you?