ย้อนรอยปัญหาจากผู้ประกอบการ MHA Advise พร้อมทางแก้ปรับใช้ได้จริง

24 ก.พ. 2565
เจ้าของร้านอาหารรู้ว่าการเปิดร้าน ย่อมตามมาด้วยปัญหาจุกจิกมากมายทั้งปัญหาเรื่องรสชาติไม่นิ่ง ปัญหาพนักงาน การจัดการในครัว การตลาด การ ยิง Ads อย่างหลายร้านหันมาเปิดแบบ Home Delivery ทำคนเดียวไม่ทัน ก็เกิดปัญหา หรือกังวลว่า ลูกค้าที่ใช้โครงการภาครัฐ ถ้าโครงการหมด ควรมีกลยุทธ์ใดที่จะทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ยังอยู่กับเราต่อ
ทำอย่างไรให้ลูกค้าไม่ต้องนั่งรอคิวนาน หมดใจไม่ทานร้านเราไปซะก่อน

ปัญหาเหล่านี้ “รุ่นพี่” เจอมาแล้ว! ชวนย้อนรอยปัญหาที่เกิดขึ้นจริง จากร้านผู้ประกอบการ MHA Advise
  •  ร้าน แซ่บตามสั่ง ณ ปั้ม ปตท. บางขุนเทียน
  •  ร้าน ล้านเรื่องลาว ร้อยเรื่องเหล้า
  •  ร้าน Rhythm & Shabu
โดยมีผู้เชี่ยวชาญ เดินทางไปช่วยวิเคราะห์ปัญหา และแก้ไขกันถึงร้าน เพื่อเป็นประโยชน์ให้ผู้ประกอบการท่านอื่นๆ ได้นำมาปรับใช้กันครับ

คุณอิศราภา นาคศุภมิตร เจ้าของร้านแซ่บตามสั่ง

มองเห็นทำเลทอง เหมาะกับการเปิดร้าน ไม่รอช้า คว้าโอกาสนี้เปิดร้านอาหารซะเลย! แต่ด้วยประสบการณ์น้อย ทำให้พบเจอปัญหามากมาย ดังนี้
ปัญหาที่เกิดขึ้น
1) ขาดการแนะนำเมนูอาหาร ส่งผลให้ได้กำไรได้น้อยกว่าที่คิด
2) เชฟไม่อยู่ แม่ครัวทำแทน ทำให้รสชาติอาหารไม่นิ่ง ลูกค้าคอมเพลน
3) กำไรเหวี่ยงในแต่ละเดือน
วิธีแก้ปัญหา
1) ทำ SOP มาตรฐานบริการหน้าร้าน สอนพนักงานให้รู้จักการแนะนำเมนูอาหาร และ SOP Check List การเปิด-ปิดร้าน
2) กำหนดสเปควัตถุดิบหรือยี่ห้อที่ใช้เป็นประจำ และทำ SOP สูตรอาหาร เพื่อควบคุมรสชาติอาหารให้ได้มาตรฐาน
3) แนะนำวิธีหาต้นทุนที่แท้จริง แก้ปัญหากำไรเหวี่ยง

รับชม MHA Advise ร้านแซ่บตามสั่ง คลิปเต็มได้ที่ : https://youtu.be/ozpPE8GKQlY

274345921_1018973755494300_5460062044468540851_n.jpg 507.89 KB
คุณพิมพ์ปพิชญ์ ถิรโรจนกุล เจ้าของร้าน ล้านเรื่องราว

ร้านอาหารอีสานสุดแซ่บ อร่อยจัดจ้าน ถูกจริตลูกค้า ที่ขายดิบขายดี มีทั้งโซนนั่งในร้าน และโซนนั่งทานนอกร้าน ชมบรรยากาศสุดชิว เรียกได้ว่าถ้าลูกค้าท่านใดได้มาลิ้มลอง ต้องมาซ้ำแน่นอน!
ครบเครื่องขนาดนี้ จะมีปัญหาอะไรที่เราไม่รู้บ้าง ลองมาดูกัน
#ปัญหาที่เกิดขึ้น
1) ปริมาณอาหารให้ลูกค้าเยอะเกินราคา แต่ไม่กล้าลดปริมาณ เพราะกลัวเสียลูกค้าประจำ เมื่อลูกค้ากินไม่หมด ลูกค้าห่อกลับบ้าน เพิ่มต้นทุนค่าแพ็คเกจจิ้ง
2) พนักงานไม่ใช่คนทำครัวมาก่อน ส่งผลให้ทำอาหารไม่คงที่ ไม่สามารถพลิกแพลงได้
3) ห้องครัวใหญ่ ใช้งานได้ไม่เต็มที่ เกิด Traffic เวลาคนสั่งอาหารจานเดียวเยอะๆ ไม่ทัน
4) ขาด Teamwork ของพนักงานในร้าน เนื่องจากไม่มีระบบการทำงานที่ชัดเจน
#วิธีแก้ปัญหา
1) ปรับปริมาณอาหารลง หรือเพิ่มทางเลือก size ขนาดเล็กปรับราคาลง และขนาดใหญ่ขายราคาเดิม
2) Training พนักงาน โดยการทำ SOP แบบเขียนสูตรอาหาร และแบบ VDO และหมั่น Retrainingสอนพนักงานซ้ำอย่างสม่ำเสมอ
3) ปรับเปลี่ยน station บางอย่างภายในครัว เช่น เปลี่ยนพื้นที่ข้างล่างเคาน์เตอร์ครัวเป็นตัวเย็น เพื่อทำงานสะดวกขึ้น หรือการย้ายเครื่องปรุงให้ตักสะดวก
4) แนะนำให้วางระบบพนักงานร้าน เพื่อให้ลูกน้องแต่ละคนรู้หน้าที่ และพูดคุยปรับ Mindset ในการทำงานร่วมกัน

รับชม MHA Advise ร้านล้านเรื่องราว คลิปเต็มได้ที่ : https://youtu.be/twK_Xon99eA

274345103_1018973725494303_7864920344059788142_n.jpg 512.49 KB
คุณภานุมาศ ธาราศักดิ์ เจ้าของร้าน Rhythm & Shabu 

เปลี่ยนจากการขายแบบมีหน้าร้าน มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งทาน เป็น Home Delivery ลุยเดี่ยว ขายคนเดียว! ไม่มีพนักงานช่วยเหมือนอย่างเคย

ข้อดีของการเปิดแบบ Home Delivery คือช่วยลดต้นทุนหลายส่วน และผู้บริโภคยุคนี้ นิยมสั่งอาหาร Delivery มากขึ้น เราลองมาดูฝั่งผู้ประกอบการกันบ้าง ว่ามีปัญหาอย่างไร และมีวิธีแก้อย่างไร
#ปัญหาที่เกิดขึ้น
1) ทำคนเดียวหัวหมุน ลูกค้าและไรเดอร์ได้รับอาหารช้าลง เพราะจัดโฟลว์ไม่ถูกและขาดประสบการณ์การจัดการในครัวบ้าน
2) ยิง Ads แบบไม่มีความรู้ ไม่มีเครื่องมือวัดผล ว่าลูกค้าที่เข้ามา มาจาก Promotion ใด
3) ลูกค้า 50% ที่เข้ามาเป็นลูกค้าที่ใช้โครงการภาครัฐ ถ้าโครงการหมด เราควรมีกลยุทธ์ใดที่จะทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ยังอยู่กับเราต่อ
#วิธีแก้ปัญหา
1) แก้ปัญหาในครัว ทำอุปกรณ์ทุกอย่างให้อยู่ใกล้มือเรา จัดวางครัวใหม่ เรียงตามลำดับการทำงาน มีส่วนเตรียมวัตถุดิบอาหาร, ส่วนทำอาหาร และส่วนแพ็คอาหารส่งลูกค้า
แบ่งของสต๊อกเก็บในตู้เย็น ส่วนของเตรียมที่จะขายแช่ในช่องฟรีซตู้เย็น
เตรียมซอสใส่ตู้เย็น เพื่อคงรสชาติ แล้วเราจะทำงานได้สะดวกมากขึ้น
2) ใส่ Promotion Code ใน Ads เพื่อดูจำนวนลูกค้าที่ใช้ code ในการสั่งอาหาร
3) เมื่อโครงการใกล้จะหมด เราอาจจะขยายต่อโปรโมชั่นของเราเอง และเมื่อหมดโครงการภาครัฐ จะทำให้เราเห็นกลุ่มลูกค้าที่แท้จริงของเรามากขึ้น

รับชม MHA Advise ร้าน Rhythm & Shabu คลิปเต็มได้ที่ : https://youtu.be/s54xero95-M 
สำรวจหัวข้อเพิ่มเติม

Keep reading

รับแรงบันดาลใจจากเนื้อหาสำหรับร้านอาหาร

ดูบทความทั้งหมด
คุณสนใจหมวดหมู่ใด