ขายหน้าร้านไม่พอ! ต้องส่งอาหารทั่วไทย ด้วยอาหารแช่เย็น และอาหารแช่แข็งเพิ่มยอดขาย

06 ก.ย. 2564
ในยุคที่การขายหน้าร้าน และการขายออนไลน์ในเขตจังหวัดเดียวกันไม่เพียงพอต่อการเติบโตธุรกิจร้านอาหาร การทำให้สินค้าไปได้ไกลกว่าเดิม จึงเป็นหนทางในการขยายธุรกิจได้มากขึ้น จากเดิมการส่งอาหารเดลิเวอรี่ จะพยายามส่งถึงมือลูกค้าไม่เกิน 30 นาที เพื่อให้อาหารยังร้อนอยู่ แต่สำหรับการส่งอาหารข้ามจังหวัดหรือแม้แต่ข้ามภูมิภาค ซึ่งใช้เวลาหลายวัน “อาหารแช่แข็ง” ก็เป็นอีกวิธีการขายที่น่าสนใจในยุคปัจจุบัน
shutterstock_1859286694.jpg 1.62 MB
ทำไมจึงควรขายอาหารแช่เย็นและอาหารแช่แข็ง

นอกจากโอกาสในการขายที่มีมากขึ้น ช่วยสนับสนุนการขายผ่านสื่อออนไลน์และสื่อโซเชียลแล้ว บริษัทขนส่งสินค้าในปัจจุบันยังรองรับการส่งสินค้าแช่เย็นและสินค้าแช่แข็งสำหรับรายย่อย จากแต่ก่อนต้องขนส่งในรูปแบบธุรกิจต่อธุรกิจ หรือใส่ลังโฟมบรรจุน้ำแข็งฝากไปกับรถขนส่งเท่านั้น  รวมถึงเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และรถแช่เย็นที่พัฒนาขึ้นมากกว่าสมัยก่อน
_____.jpg 58.85 KB


มาดู 5 บริษัทขนส่ง ที่รับส่งสินค้าแช่เย็นและสินค้าแช่แข็งกัน

1.       SCG Express มีบริการที่ชื่อว่า Cool TA-Q-BIN สำหรับการจัดส่งพัสดุที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ เช่น ของสด อาหารทะเล ผลไม้ ซึ่งเราสามารถควบคุมให้พัสดุอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่งให้บริการจัดส่งสินค้าควบคุมอุณภูมิใน 2 ลักษณะ ได้แก่
scg 1.png 98.14 KB


-          บริการส่งสินค้าแช่เย็น(Chilled service) สำหรับสินค้าที่ต้องขนส่งภายใต้อุณภูมิ 0-8 องศาเซลเซียส
frozen-service scg 2.png 77 KB


-          บริการส่งสินค้าแช่แข็ง(Frozen service) สำหรับสินค้าแช่แข็งอุณหภูมิต่ำกว่า -15  องศาเซลเซียส
มีพื้นที่ให้บริการ 70 จังหวัดทั่วประเทศไทย รับส่งสินค้าแช่เย็นและแช่แข็งขนาดกล่อง(กว้าง*ยาว*สูง)ไม่เกิน 120 เซนติเมตร น้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัมต่อกล่อง เข้ารับสินค้าทุกวันจันทร์-ศุกร์ โดยต้องแจ้งล่วงหน้า 1 วัน ค่าจัดส่งเริ่มต้นที่ 130-450 บาทต่อกล่อง สินค้าต้องทำการแช่เย็นไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง และ แช่แข็งไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมงก่อนจัดส่ง

2.       FedEx รับส่งสินค้าแช่แข็งและแช่เย็น การจัดส่งผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่ายเพื่อขนส่งพัสดุทางการแพทย์ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอุณหภูมิและปลอดภัย สามารถเลือกอุณภูมิได้หลายระดับ ตั้งแต่
-          +4 ถึง +25 องศาเซสเซียส โดยตู้คอนเทนเนอร์ที่มีคอมเพรสเซอร์ C-Safe (+4°C ถึง +25°C) จะรักษาระดับอุณหภูมิภายในให้คงที่โดยไม่ต้องใช้น้ำแข็งแห้ง
-          -20 ถึง -25 องศาเซสเซียส โดยตู้คอนเทนเนอร์แบบน้ำแข็งแห้ง รักษาอุณหภูมิการจัดส่งในระดับที่กำหนดไว้ และมีการติดตามอุณหภูมิตั้งแต่รับพัสดุจนถึงการส่งมอบ
-          FedEx® Deep Frozen Shipping Solution เทคโนโลยีไอเย็นแบบแห้งช่วยให้สามารถรักษาอุณหภูมิที่ -150°C ได้นานถึง 10 วัน ไม่จำเป็นต้องใช้กล่องเก็บความเย็นและน้ำแข็งแห้ง
รายละเอียด การจัดส่งสินค้าโดย FedEX คลิก
service-temp-02--.png 428.82 KB
 
3.       INTER EXPRESS LOGISTICS ขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ มากกว่า 26 ปี รับขนส่งเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ วัคซีน ยารักษาโรค ที่มีความสำคัญและต้องการการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะกับยานั้น ๆ ส่งไปยังทุกพื้นที่ในต่างจังหวัด สามารถเลือกอุณภูมิการแพ็คสินด้า ได้ดังนี้ 
- Chilled หรือ แช่เย็น (อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส)
- Frozen หรือ แช่แข็ง (อุณหภูมิ ต่ำกว่า -15 องศาเซลเซียส)

มีบริการส่งสินค้าทั้งแบบลังโฟม และกล่องกระดาษโดยรถเย็นควบคุมอุณหภูมิ ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย(บางพื้นที่ห่างไกลต้องเสียค่าส่งเพิ่ม) ค่าบริการเริ่มตั้งแต่ 70 บาท ถึง 720 บาท ตามขนาดและแพ็ค

4.       JWD Express บริการขนส่งสินค้าในรูปแบบสินค้าแช่เย็นที่อุณหภูมิ 0 - 8 องศาเซลเซียส และสินค้าแช่แข็งที่ อุณหภูมิต่ำกว่า -15 องศาเซลเซียส โดยใช้การขนส่งรถตู้ทึบและกล่อง Cool Box เพื่อควบคุมอุณหภูมิ ครอบคลุม 73 จังหวัด
หมายเหตุ : ปัจจุบัน JWD Express ร่วมมือกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ บริษัท แฟรช เอ๊กเพรส จำกัด และจะเปลี่ยนไปให้บริการในชื่อ FUSE POST ซึ่งในเบื้องต้นจะเริ่มให้บริการ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด 6 เส้นทาง ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป (คลิก เพื่อดูเส้นทางจัดส่งในปัจจุบัน)
101308762_2980076555433857_6523757037145292800_n.jpg 122.96 KB
5.       NiM Express   บริการส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain) สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งการส่งสินค้าแช่เย็น และ สินค้าแช่เเข็ง ใช้รถขนส่งห้องเย็นแบบควบคุมอุณหภูมิโดยเฉพาะ มีบริการเข้ารับสินค้าถึงหน้าบ้าน รับถึงที่ ส่งถึงมือ (Door to Door) และจัดส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิถึงปลายทางแบบ Next Day เลือกส่งสินค้าได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
- Chilled หรือ ระบบแช่เย็น (อุณหภูมิ 0-8 องศาเซลเซียส) โดยสินค้าจะต้องอยู่ในอุณหภูมิ 0-8 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมงก่อนจัดส่ง
- Frozen หรือ ระบบแช่แข็ง (อุณหภูมิ ต่ำกว่า -15 องศาเซลเซียส) โดยสินค้าจะต้องอยู่ในอุณหภูมิต่ำกว่า -15 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 15  ชั่วโมงก่อนจัดส่ง
สินค้าน้ำหนักไม่เกิน 30 กิโลกรัม และ ความยาวด้านที่ยาวที่สุดต้องไม่เกิน 55 เซนติเมตร หรือถ้านำส่งที่สาขาสามารถเพิ่มน้ำหนักเป็น 40 กิโลกรัมได้ ค่าจัดส่งเริ่มต้นที่ 100-480 บาท ตามพื้นที่และน้ำหนักสินค้า
 
เทคนิคการแพ็คอาหารแช่เย็นและแช่แข็ง
shutterstock_2005376855.jpg 830.33 KB

1.       เลือกภาชนะบรรจุอาหารที่เหมาะสม ควรเลือกกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันความชื้นเนื่องจากกระบวนการแช่แข็งและกระบวนการจัดส่ง หรือใส่ในถุงพลาสติกสูญญากาศ ช่วยลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยืดอายุของอาหารได้อีก ควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ทนความเย็นได้ตั้งแต่ -15 ถึง -30 องศาเซลเซียส ทั้งกล่องพลาสติกและถุงพลาสติกสูญญากาศที่มีความทนทานต่อการกระแทกและการฉีกขาดได้ในระดับหนึ่ง และเพื่อความสะดวกของลูกค้า กล่องอาหารควรเป็นชนิดที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้เมื่อลูกค้าต้องการอุ่นอาหาร
shutterstock_286294463.jpg 168.96 KB
2.       นำอาหารและของสดไปแช่แข็งอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส แม้อุณหภูมิของช่องแช่แข็งของตู้เย็นทั่วไปจะอยู่ที่ -18 องศา แต่ในความเป็นจริงจากการเปิดใช้งานในชีวิตประจำวัน อาจทำให้อุณหภูมิช่องแช่แข็งเย็นไม่พอ นอกจากนี้พื้นที่ในการแช่อาหารของตู้เย็นทั่วไปไม่ใหญ่มากพอที่จะใส่อาหารได้หลายสิบกล่อง ดังนั้นการลงทุนซื้อตู้แช่แข็งสำหรับแช่อาหารจึงเป็นทางออกที่เหมาะสม ตู้แช่แข็งจะสามารถทำอุณหภูมิได้ถึง -25 ถึง -30 องศาเซลเซียล ราคาอยู่ระหว่าง 5,000 – 20,000บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของตู้แช่ (คลิกเพื่อดูรายละเอียด ตู้แช่แข็ง) สำหรับอาหารแช่เย็นโดยทั่วไปก่อนจัดส่งจะต้องแช่ให้ได้อุณหภูมิ 0-8 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
paper.box.png 629.2 KB

shutterstock_1920680027.jpg 398.56 KB

3.       บรรจุอาหารแช่แข็งในกล่องโฟมหรือกล่องกระดาษ การบรรจุกล่องโฟมจะช่วยเก็บอุณหภูมิให้ยาวนานขึ้น และในปัจจุบันกล่องกระดาษเก็บความเย็นก็ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในบริษัทขนส่ง เพราะมีน้ำหนักที่เบากว่าและเก็บอุณหภูมิได้เหมือนกับกล่องโฟม หรือเลือกใช้กล่องกระดาษแบบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อการเก็บอุณหภูมิโดยเฉพาะ ซึ่งจะบุฉนวนกันความร้อนไว้ภายใน 
 
สำหรับกล่องโฟมถ้าจำเป็นต้องใส่วัสดุทำความเย็น เช่น น้ำแข็งหรือเจลแพค ควรเป็นน้ำแข็งที่บรรจุภาชนะหรือถุงมิดชิดป้องกันน้ำซึมเข้าอาหารเวลาที่น้ำแข็งละลาย และควรนำกล่องอาหารบรรจุถุงปิดผนึกอีกรอบ เมื่อบรรจุอาหารแช่แข็งลงกล่องโฟมแล้ว ให้ทำการปิดฝาแล้วซีลด้วยเทปกระดาษหรือเทปแพคกล่องในส่วนบริเวณรอยต่อให้มิดชิดก่อนดำเนินการจัดส่ง และต้องเช็คก่อนว่าบริษัทขนส่งที่จะเรียกใช้ รับส่งสินค้าแช่เย็นในลังโฟมหรือไม่ 
บริษัทขนส่งหลายแห่งมีบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการเก็บรักษาความเย็นของตัวเองไว้บริการลูกค้า ซึ่งเราสามารถเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ของบริษัทขนส่งเลยก็ได้ เพราะบริษัทขนส่งสามารถจัดการได้ง่ายกว่า และมักจะมีประกันความเสียหายสำหรับสินค้าที่อยู่ภายในถ้าใช้บรรจุภัณฑ์ของบริษัทและปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
 
4.       ควรแนบวิธีการละลายอาหารแช่แข็งและการอุ่นอาหารที่เหมาะสมกับเมนูนั้นๆไปด้วย ควรระบุวิธีการอุ่นอาหารทุกรูปแบบอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการอุ่นด้วยไมโครเวฟหรือการอุ่นด้วยวิธีอื่น ในบางกรณีลูกค้าไม่ได้สั่งไปบริโภคในทันที ควรมีการระบุวิธีการเก็บรักษาด้วยการแช่แข็งเมื่อได้รับสินค้าแล้ว และควรแจ้งเตือนลูกค้าด้วยว่าเมื่ออาหารแช่แข็งละลายแล้ว ไม่ควรนำกลับเข้าไปแช่แข็งอีกรอบเพราะจะเกิดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย และทำให้อาหารเสียง่ายขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทั้งหมดนี้อาจทำเป็นแผ่นพับใส่ถุงพลาสติกกันชื้นและใส่ไปพร้อมกันในตอนส่ง หรือจะระบุไว้ในสื่อโซเชียลของร้านก็ได้
 
ขอบคุณภาพจาก
สำรวจหัวข้อเพิ่มเติม

Keep reading

รับแรงบันดาลใจจากเนื้อหาสำหรับร้านอาหาร

ดูบทความทั้งหมด
คุณสนใจหมวดหมู่ใด