ขายผ่าน  App Food Delivery หรือขี่มอเตอร์ไซต์ส่งเอง แบบไหนดีกว่ากัน?

23 ต.ค. 2562
ยุคนี้ร้านอาหารไหนไม่มีบริการ Delivery
 ไม่เพียงแต่ขาดโอกาสเพิ่มช่องทางทำรายได้ไปเท่านั้น
 แต่ยังเป็นการเสียโอกาสการแข่งขัน
ให้กับคู่แข่งที่มีบริการ Delivery อีกด้วย
ซึ่งทั้ง 2 โอกาสนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมใช้บริการ Delivery มากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันไม่ใช่เฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น ต่างจังหวัดก็มีความต้องการใช้บริการ Delivery สั่งอาหารมาส่งถึงบ้านก็เช่นกัน
ดังนั้น หากไม่อยากเสียโอกาสเพิ่มยอดขาย และเสียพื้นที่ตลาดให้กับร้านอื่น ๆ ก็ต้องไม่พลาดมีบริการ Delivery
ถึงตรงนี้ผู้ประกอบการอาจมีข้อสงสัยว่า ระหว่างใช้บริการ App Food Delivery กับ ทำ Delivery ด้วยการขี่มอเตอร์ไซต์ส่งเอง แบบไหนจะดีกว่ากัน เรามีข้อมูลมาบอกเพื่อประกอบการตัดสินใจง่ายขึ้น
App Food Delivery
ข้อดีของการที่ร้านอาหารเป็นพาร์ทเนอร์กับแอป Food Delivery นั้น มีหลายข้อด้วยกัน เช่น
  1. สามารถช่วยให้ร้านอาหารเราเพิ่มยอดขายได้ทันทีโดยบาง App ก็ไม่มีค่าใช้จ่าย บาง App ก็มีค่าใช้จ่าย แต่ก็ถือว่าเป็นการเพิ่มช่องทางรายได้ให้เติบโตได้
  2. สามารถใช้ App Food Delivery เป็นช่องทางในการโปรโมทร้าน โปรโมทเมนูให้ดังได้ ซึ่งแต่ละ App ดังๆ มีผู้ใช้หลายสิบล้านคน ทำให้ร้านค้าของเรามีโอกาส
    ได้รับการเข้าถึงและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ขยายฐานลูกค้าได้กว้างมากขึ้น โดยไม่มีต้นทุนหรือมีต้นทุนในการดำเนินการที่น้อยกว่าการใช้งบทางการตลาดทั่วไป
  3. ทำให้ร้านอาหารของเรามีระบบบริการ Delivery ได้โดยไม่ต้องจ้างพนักงาน ไม่มีต้นทุนเงินเดือนพนักงาน ซึ่งถือเป็นการบริการที่ทำให้ร้านของเราสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น
  4. สามารถจัดโปรโมชั่นร่วมกับทาง App Food Delivery ได้ เพื่อกระตุ้นยอดขาย หรือสร้างกระแสการรับรู้ให้กับร้านค้าของตัวเอง ซึ่งสะดวก สบาย และง่ายกว่ามาก เพราะมีผู้ช่วยดำเนินการให้
ซึ่งปัจจุบัน App Food Delivery ที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ 4 App รายละเอียดในการสมัครเป็นพาร์ทเนอร์กับ App Food Delivery
 แต่ละ App จะมีกฎระเบียบและเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป แต่ทุก App สมัครได้ง่าย ๆ แค่ปลายนิวจิ้ม ๆ 5 App ที่ว่า มี ดังนี้
Wongnai x LINE MAN Delivery
เบื้องต้นร้านค้าสามารถเข้าร่วมบริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัครและการให้บริการ โดยคิดค่าส่งตามระยะทางในอัตราปกติ แต่ถ้าอยากให้ลูกค้าเสียค่าส่งในราคาที่ถูกลง สามารถเข้าร่วม LINE MAN GP โดยจะได้รับสิทธิ์พิเศษ คือ ค่าส่งอาหารถูกกว่า และได้รับการโปรโมทพิเศษ เพื่อช่วยให้ร้านได้รับออเดอร์ และยอดขายมากขึ้น
โดยระบบจะให้ร้านเลือกว่าต้องการเข้าร่วมบริการรูปแบบใด ระหว่าง 
  • LINE MAN Delivery ในอัตราค่าส่งพิเศษ (GP 30%)
  • เข้าร่วมเฉพาะ Self-Delivery หรือ Pickup (GP 5%) คือการสั่งอาหารผ่านแอป แล้วลูกค้าจะมารับอาหารที่ร้านเอง หมดปัญหาการรอคิวนาน ๆ แถมร้านยังมีเวลาเตรียมเมนูให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย
สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจ สามารถคลิกอ่านขั้นตอนในการสมัคร และอย่าลืมเช็คว่าพื้นที่ของท่า
ให้บริการ LINE MAN หรือไม่ 
  • ขั้นตอนการสมัคร LINE MAN GP คลิก
  • ลงทะเบียนสมัครใช้งาน คลิก 
  • เช็คพื้นที่ LINE MAN ให้บริการ คลิก
Grab Food
GrabFood มีการเก็บค่าบริการรายเดือน คิดเป็น 30% จากยอดขายที่ผ่านแกร็บฟู้ดเท่านั้น ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าแต่อย่างใด โดยค่า GP ที่ทางแอปหักไป มีส่วนช่วยโปรโมทร้านอาหาร ดันยอดขายได้ให้กับร้านอาหารได้อีกด้วย ราคาอาหารใน Grab Food บางร้านจะมีการบวกราคาเพิ่ม ทำให้ราคาหน้าร้านกับราคาในแอป ไม่ตรงกัน 
Food Panda
จะคิดค่าคอมมิชชัน 35% จากมูลค่าของออเดอร์ทั้งหมดที่สั่งผ่านทาง Food Panda สำหรับออเดอร์ที่ชำระผ่านบัตรเครดิต จะทำการละเว้นค่าธรรมเนียม 3% ให้ร้านค้าที่ใช้บริการผ่าน Food Panda จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ไม่ได้เป็นร้านที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจาก Food Panda เป็นบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจะถูกคำนวณจากค่าคอมมิชชั่นที่ทาง Food Panda จะต้องจ่ายเรา (ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้าออเดอร์ 100 บาท (ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่วนแบ่งของ Food Panda จะเท่ากับ 35 บาท + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.45 บาท ในขณะที่ส่วนแบ่งของทางร้านจะเป็น 62.55 บาท) สมัครใช้บริการคลิก
Gojek
ช่วงแรกที่เข้ามาทดลองตลาดในไทยใช้ชื่อแบรนด์ Get เมื่อตลาดมีความเป็นไปได้ Gojek ซึ่งเป็นเป็นสตาร์ทอัพของอินโดนีเซียต้องการเข้ามาทำตลาดด้วยชื่อตัวเองอย่างจริงจังและได้รับเงินลงทุนเพิ่มเติมจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกเช่น Google และ Tencent รวมถึงนักลงทุนรายใหม่ล่าสุดอย่าง Facebook 
ค่า GP 30% (โดยยังไม่คิดรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) ร้านค้าจะต้องติดตั้งแอปฯ GoBiz เพื่อรับออเดอร์และตรวจสอบยอดขายสามารถสมัครเป็นร้านค้าพาร์ทเนอร์กับ​ Gojek คลิก 
Robinhood
แอปฟู้ดเดลิเวอรี่น้องใหม่ล่าสุดจากค่ายบริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด ในเครือของ SCB ธนาคารไทยพาณิชย์ เพราะว่า หนึ่งในจุดเด่นของ “Robinhood” ที่หลายคนฮือฮาก็คือ ไม่มีการเก็บค่า GP ทำให้เป็นโอกาสของร้านเล็กๆที่ไม่ไหวกับค่า GP สามารถเข้าร่วมได้ ตามสโลแกน “แอปเพื่อคนตัวเล็ก” และมองถึงปัญหาของร้านเล็กที่ต้องมีกระแสเงินสดหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในร้าน Robinhood หลังจากออเดอร์ส่งถึงลูกค้าภายใน 1 ชั่วโมง เงินจะเข้าบัญชีร้านทันที!
นอกจากนี้ ยังเตรียมทีมงานไว้สำหรับให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งคิดว่าต่อไปแค่เดินไปธนาคารไทยพาณิชย์ขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยจัดการก็เรียบร้อย รวมถึงการนำ Dynamic Delivery Pricing เข้ามาช่วยวิเคราะห์และกระตุ้นให้ลูกค้าสั่งอาหารนอกเวลาที่ร้านขายดีอยู่แล้ว โดยการจูงใจด้วยราคาส่งลดพิเศษ หรือ กลยุทธ์อื่น ๆ ที่จะตามมา และลูกค้าสามารถเลือกชำระค่าอาหารผ่านการตัดบัญชีใน SCB EASY หรือตัดบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรเติมเงิน ชีวิตง่าย จ่ายสะดวกขึ้น และแน่นอนคงจะรวมไปถึงโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ง่ายขึ้นด้วย
ขี่มอเตอร์ไซต์ส่งเอง
          หากเป็นร้านอาหารเน้นลูกค้าเฉพาะในพื้นที่ใกล้ร้าน เช่น ร้านอยู่หน้าปากซอยหมู่บ้าน ลูกค้าหลักอยู่ในหมู่บ้าน การขี่มอเตอร์ไซต์ส่งเองก็เป็นหนึ่งทางเลือก แต่ก็มีข้อจำกัดที่ต้องคำนึงถึงให้มาก เช่น ต้นทุนการจ้างคนส่ง ค่าน้ำมัน ค่าเสื่อม ค่าเวลา ค่าความปลอดภัย ค่าความเสียหายที่ร้านต้องรับผิดชอบเอง
 และลูกค้ามีโอกาสรอออเดอร์นานหากเป็นการพ่วงออเดอร์ไปพร้อมกันหลายราย ลูกค้าคนสุดท้ายอาจจะถูกจัดส่งอาหารล่าช้ากว่าปกติ และส่งผลถึงคุณภาพอาหารตามมา
 และหากเป็นการเปิดรับเออเดอร์ไม่จำกัดพื้นที่ ยิ่งต้องระวังเรื่องพนักงานจัดส่งไม่เพียงพอ เสียโอกาสได้ออเดอร์เพิ่มและเสี่ยงต่อการถูกลูกค้าด่าออกสื่อ
จากข้อมูลเบื้องต้นนี้ หวังว่าจะทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจได้ว่า ควรทำ Delivery แบบใดที่เหมาะกับร้านและตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อเพิ่มช่องทางขาย เพิ่มลูกค้าใหม่ ๆ ผ่านทาง Delivery
คลิกอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
สำรวจหัวข้อเพิ่มเติม

Keep reading

รับแรงบันดาลใจจากเนื้อหาสำหรับร้านอาหาร

ดูบทความทั้งหมด
คุณสนใจหมวดหมู่ใด